Challenge ในการทำ Collaboration Project นี้มีอะไรบ้าง และแตกต่างจากงานที่ผ่านมาอย่างไร
(ฮาจิเมะ โซรายามา) : เริ่มที่การออกแบบ คุณ Sorayama ได้มีการออกแบบไดโนเสาร์ให้มีลักษณะท่าทางที่ดูเหมือน ‘การวิ่ง’ โดยเป็นการวิ่งอย่างรุนแรง จากชั้นหนึ่งสู่ชั้นสอง วิ่งผ่านทะเลสาบ ผ่านป่า เป็นการวิ่งขับเคลื่อนด้วยความร้อนจากตัวเครื่องยนต์ รู้สึกคุกรุ่น ซึ่งผลงานที่ผ่าน ๆ มาเน้นไปที่เรื่องของ ‘ท่าทาง’ Movement เป็นหลักมากกว่า
(อาซุมะ มาโกโตะ) : แตกต่างจากผลงานที่ผ่านมาตรงที่ครั้งนี้จะเน้นไปที่การออกแบบแลนด์สเคปให้ช่วยเสริมผลงานของคุณ Saroyama ให้ดูออกมาโดดเด่นและมีมิติมากที่สุด เลยพยายามทำออกมาให้ดูเรียบง่ายที่สุด (ตอนแรกที่วางไว้คืออยากให้ผลงานดูออกมาดิบ ๆ ไปเลย แต่พอได้เห็นผลงานจริงกลับรู้สึกเหมือนว่าตัวไดโนเสาร์มันมีชีวิตจริง ๆ เลยเกิดความรู้สึกที่อยากจะเพิ่มบางอย่างเข้าไปในผลงานมากกว่านี้ เพราะตอนแรกคิดว่าจะดูดิบ ๆ เรียล ๆ ไม่คิดว่าจะดูสมจริงขนาดนี้)
คิดว่าอะไรคือจุดเชื่อมโยงระหว่าง ‘ผลงานศิลปะ’ และ ‘ผู้ที่มาเยี่ยมชมนิทรรศการ’
(ฮาจิเมะ โซรายามา) : คิดว่าน่าจะเป็นในเรื่องของ ‘ขนาด’ เพราะเป็น Scale ขนาดมหึมาที่ไม่เคยมีมาก่อน และเป็นในเรื่องของ ‘ความตื่นเต้น’ (Excitement) ที่ทุกคนเห็นแล้วน่าจะเกิดความรู้สึกนี้
(อาซุมะ มาโกโตะ) : เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่ช่วยเสริมผลงานหลักของคุณ Sorayama อีกทีหนึ่ง อยากให้ผู้ที่ได้ชมผลงานเกิดแรงบันดาลใจ หรือได้อะไรบางอย่างกลับไป และโดยปกติแล้วทาง AMKK จะเน้นไปที่ดอกไม้รวมถึงพืชพรรณต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเทรนด์ที่คนให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาของสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะพลาสติก เลยคิดว่าคนดูจะได้ถึงจุดเชื่อมโยงที่ดีของความเป็น Botanical กับความเป็นอะลูมิเนี่ยม